องค์การเภสัชกรรม

สรรสร้างนวัตกรรมด้วยความใส่ใจเพื่อชีวิต

องค์การเภสัชกรรม

สรรสร้างนวัตกรรมด้วยความใส่ใจเพื่อชีวิต

ผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมคว้ารางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565

8 ธันวาคม 2565
ขนาดตัวอักษร

     
     ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565 โดยดร.ภญ.มุกดาวรรณ สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เคยได้รับประกาศนียบัตร และรางวัลต่างๆ จากหลายสถาบัน อาทิเช่น NEBB Cleanroom Performance Testing (CPT) Certified Technician / Professional from National Environmental Balancing Bureau (NEBB), USA ( ปี 2557 - ปัจจุบัน) Certified Pharmaceutical Industry Professional; CPIP (ปี 2559 – ปัจจุบัน) ได้รับรางวัลสตรีดีเด่น ประจำปี 2561 สาขาบริหารและพัฒนาองค์กร จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย ได้รับรางวัลเภสัชกรอุตสาหการดีเด่น ประจำปี 2563 จากสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) ได้รับประกาศนียบัตร Project Management Professional (PMP) Certified from Project Management Institute, USA (ปี 2564-2566) และได้รับหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม Fellow of the College of Industrial Pharmacy (FCIP) Certified from The College of Industrial Pharmacy of Thailand ( ปี 2564- ปัจจุบัน)

     ภญ.ดร.มุกดาวรรณ เป็นเภสัชกรนักปฏิบัติและผู้บริหารที่มีความยึดมั่นในวิถีแห่งคุณภาพ มีความตระหนักถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์ยาที่จะออกไปสู่ประชาชน ต้องมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ มีการควบคุมและตรวจสอบทางคุณภาพตลอดกระบวนการ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองและบุคลากรในสังกัด สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีไฟในการพัฒนางาน และนำองค์ความรู้ใหม่ๆรวมถึง ประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ


     ดร.ภญ.มุกดาวรรณ เป็นผู้ผลักดัน และขับเคลื่อนให้โครงการขอรับรอง WHO-Prequalification ผลิตภัณฑ์ Efavirenz Tablets 600 mg ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม เข้าสู่บัญชีผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตยาแห่งแรกของประเทศไทยในปัจจุบันที่ได้รับการรับรองโรงงานบน Web site www.who.int ในเรื่องการเผยแพร่ความรู้ เป็นผู้ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านเภสัชอุตสาหกรรมโดยผ่านการดูงาน การสอนงานนิสิตนักศึกษา ในคณะเภสัชศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เพื่อส่งเสริมการผลิตบุคลากรเข้าสู่วงการเภสัชอุตสาหกรรม การออกแบบโรงงานสีเขียวในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยารังสิต ระยะที่ 2 ให้ได้ระดับ Certified ตามมาตรฐาน LEED USA โรงงานผลิตยารังสิต ระยะที่ 2 ถูกออกแบบโดยใช้หลักการการออกแบบโรงงานสีเขียว (Green Factory) เป็นโครงการที่มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยของเสีย หรือรบกวนประชาชนในพื้นที่ ทั้งยังเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตสูงโดยนำ Digital Technology มาทดแทนแรงงานคน มีส่วนช่วยให้ประชาชนเข้าถึงยาที่มีคุณภาพ ในราคาเป็นธรรม

   เป็นคณะผู้วิจัยโครงการวิจัย และถอดบทเรียน Efavirenz WHO PQ: กรณีศึกษาความร่วมมือรัฐ-เอกชน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและควบคุมคุณภาพ ปี 2563 เป็นตัวแทนองค์การเภสัชกรรม ร่วมกับสภาเภสัชกรรม ในการจัดทำร่างมาตรฐานเภสัชกรรมทางไกล (telepharmacy) ในส่วนของมาตรฐานด้านการขนส่ง และเป็นผู้ผลักดันร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดโครงการ การเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขององค์การอนามัยโลก สำหรับตัวยาสาคัญและเภสัชภัณฑ์สำเร็จรูป WHO prequalification GMP inspection technical updates of active ingredients and finished pharmaceutical products โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ตรวจประเมินสถานที่ผลิตจาก WHO PQ Programme เมื่อปี 2563


    “เชื่อเสมอว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น เช่นเดียวกับการขวนขวายพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ ไม่จำกัดแค่เฉพาะในสาขาวิชาชีพเท่านั้น ยังรวมไปถึงองค์ความรู้ในด้านการบริหาร การวิศวกรรม แม้จะยากในช่วงแรก แต่หากตั้งใจก็สามารถบรรลุตามความมุ่งหวังได้ เพื่อนำมาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้และพัฒนางานของโรงงานผลิตยารังสิตและองค์การเภสัชกรรมให้พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงพร้อมก้าวสู่ตลาดสากล เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาที่ดีมีคุณภาพ ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป” ภญ.ดร.มุกดาวรรณ กล่าว