องค์การเภสัชกรรม

สรรสร้างนวัตกรรมด้วยความใส่ใจเพื่อชีวิต

องค์การเภสัชกรรม

สรรสร้างนวัตกรรมด้วยความใส่ใจเพื่อชีวิต

เข้าสู่ระบบศูนย์ข้อมูลผลิตภัณฑ์

"กัญชา" กับ สารสำคัญ "รักษาโรค"

18 พฤศจิกายน 2562
ขนาดตัวอักษร

   

         กัญชามีสารประกอบทางเคมีกว่า 500 ชนิด และมีสารกลุ่ม cannabinoids ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาถึงกว่า 100 ชนิด โดยสารหลักที่นำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์ คือสาร THC และ CBD

         นอกจากนี้ยังมีสาร cannabinoids ชนิดอื่นๆ เช่น สาร terpenoids และ flavonoids  ที่อาจมีฤทธิ์ในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อีกด้วย

สาร THC (delta-9-tetrahydrocannabinol)  และ สาร CBD (cannabidiol) 
จัดอยู่ในกลุ่มสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) เป็นสารหลักที่พบในพืชจำพวก
กัญชาและกัญชง

สาร THC (delta-9-tetrahydrocannabinol) แตกต่างกับสาร  CBD (cannabidiol)
ที่การออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แต่พบว่ามีประโยชน์ในการนำมาใช้ทางการแพทย์ในการ
บรรเทาอาการปวดได้อย่างดี ดังนั้นการใช้ฤทธิ์ของสาร THC 
ในการรักษาโรค จึงต้องมี
ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างกับสาร CBD (cannabidiol)  ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อ
จิตประสาท แต่มีฤทธิ์ในทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน ได้แก่ บรรเทาอาการลมชัก ต้านการ
อักเสบ เป็นต้น

สารทั้งสองชนิดแม้จะออกฤทธิ์ต่อระบบจิตประสาทแตกต่างกัน และถูกนำมาใช้รักษาแต่ละ
ชนิดโรคและอาการต่างกัน

สาร THC ใช้บรรเทาอาการปวด เกร็ง คลื่นไส้ อาเจียน เพิ่มความอยากอาหาร นำมาใช้ใน
ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ภาวะปวดประสาท เป็นต้น

ส่วนสาร CBD มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด บรรเทาอาการลมชักและป้องกัน
การเสื่อมของเซลล์ประสาท นำมาใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันในโรคลมชัก
ที่รักษายาก
และโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา (intractable epilepsy)

สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid)เช่น THC และ CBD จะถูกผลิตขึ้นในต่อมเรซิน
ของกัญชา ซึ่งเรียกว่า ไตรโคม Trichome
พบอยู่บนผิวทุกส่วน
ของกัญชา แต่จะพบว่า
อยู่หนาแน่นที่สุดบริเวณช่อดอกเพศเมีย
ที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์ ในทางการแพทย์จึงให้
ความสำคัญต่อการเก็บเกี่ยว 
ช่อดอกกัญชาเพศเมียเพื่อให้ได้ปริมาณสารสำคัญ
จำนวนมาก
ในการนำมาผลิตเป็นยารักษาโรคทางการแพทย์แผนปัจจุบัน