องค์การเภสัชกรรม

สรรสร้างนวัตกรรมด้วยความใส่ใจเพื่อชีวิต

องค์การเภสัชกรรม

สรรสร้างนวัตกรรมด้วยความใส่ใจเพื่อชีวิต

แผนยุทธศาสตร์และผลการดำเนินงาน

แผนยุทธศาสตร์

ผลการดำเนินงาน

รายงานประจำปี

ข้อมูลสำคัญ

โครงสร้างการบริหารงาน

คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม


นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์
ประธานกรรมการ

 
นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข

นพ. เจษฎา โชคดำรงสุข
กรรมการ
(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)

นายปิยกร อภิบาลศรี
กรรมการ
ผู้แทนกระทรวงการคลัง(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ
กรรมการ
 
รศ.ดร.อัศม์เดช วานิชชินชัย
กรรมการ
(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)
 
รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม
กรรมการ
(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)
 
ภก.ธีระพล เกียรติสุรนนท์
กรรมการ
 

ศ. นพ. วินัย วนานุกูล
กรรมการ
 
ดร.จรสพร เฉลิมเตียรณ
กรรมการ

รศ. ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล
กรรมการ
พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์
กรรมการและเลขานุการ
(โดยตำแหน่ง)

 

 

 

คณะผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์
ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8100 หมายเลขโทรสาร 0-2354-8850
 
ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8105 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายผลิตยา
  • โรงงานผลิตยารังสิต ๑
  • โรงงานผลิตยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตา-แลคแตม
  • การประกันคุณภาพโรงงานผลิตยารังสิต ๑
ภญ.ดนตรี เกษสุวรรณสิงห์
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8102 หมายเลขโทรสาร 0-2354-8793
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์
  • กองกิจการโครงการพิเศษ
ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8104 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายการตลาดและการขาย
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สาขาภาคทุกสาขา
  • กองประชาสัมพันธ์
นายรังษี ปัดลี
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8107 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายชีววัตถุ
  • โรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ
  • การประกันคุณภาพชีววัตถุ

ภญ.อมรรัตน์ สืบบุญเชิญวงศ์
รองผู้อำนวยการ

ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8103 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • สำนักบริหารยุทธศาสตร์
  • สำนักอำนวยการ (ยกเว้นกองธุรกิจร่วมทุน กองพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืนและกองประชาสัมพันธ์)
  • ฝ่ายบัญชีและการเงิน
 
ภญ.สุนทรี ตันติทวีวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8106 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายบริหารพัสดุและผลิตภัณฑ์ (ยกเว้น สาขาภาคทุกสาขา)
  • ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล
 
ภญ.สุพร อิงอุดมนุกูล
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8072 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ
  • ฝ่ายทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • ฝ่ายสมุนไพรและเภสัชเคมีภัณฑ์
  • กองงานประกันคุณภาพ
 
ภญ.วีณา เสถียรโภคทรัพย์
ผู้เชี่ยวชาญ 10
ภญ.ปาริชาติ แคล้วปลอดทุกข์
ผู้เชี่ยวชาญ 10
ภญ.ยุวพร ศรีน้อย
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทุนมนุษย์
ภญ.อมรรัตน์ สืบบุญเชิญวงศ์
รักษาการผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
ดร.ภก.จตุพล เจริญกิจไพบูลย์
รักษาการผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์ และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์และพัฒนาธุรกิจ
ภญ.ศรีสมัย โมกขมรรคกุล
รักษาการผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน
นางสาวรัตนา คงฉิม
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
ภญ.วิลักษณ์ วังกานนท์
ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตยา
ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายชีววัตถุ
ดร.ภญ.ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ
ผู้อำนวยการฝ่ายสมุนไพรและเภสัชเคมีภัณฑ์
ภญ.อุบลรัตน์ สินรักษา
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและวิศวกรรม
ภญ.สุวิมล วรเกษมสุข
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
ภญ.จิรารัตน์ ตรีรัตนพันธ์
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารพัสดุและผลิตภัณฑ์
ภญ.อัญชลี ตรีรัตนกุลวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพและรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ 2
ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล
รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ภญ.ศุภราศรี เพิ่มเจริญ
ผู้จัดการโรงงานผลิตยารังสิต 1
ภญ.อัญเชิญ ตันติสังวรากูร
ผู้จัดการการประกันคุณภาพ โรงงานผลิตยารังสิต 1
ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์
รักษาการผู้จัดการโรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ
นางสุมาลี ปรางค์ประทานพร
ผู้จัดการการประกันคุณภาพชีววัตถุ
ภญ.สุพร อิงอุดมนุกูล
รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายทะเบียนยาและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  ภญ.กฤษณา ศรีคำมุล
ผู้จัดการโรงงานผลิตยารังสิต 2 และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายโรงงานผลิตยารังสิต 2

  ผู้จัดการโรงงานผลิตยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตา-แลคแตม
 
 
 
 

 

 

โครงสร้างองค์กร

ภารกิจ

วิสัยทัศน์องค์การเภสัชกรรม

“เป็นองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ของประเทศ ที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน”

To be possessed of innovative products which create value and sustainability, inorder to be the foremost organization in the country maintaining national security in terms of medicines and medical supplies.

 

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง (ตามพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509)
1. ผลิตยาและเวชภัณฑ์
2. ส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัยการผลิตยาและเวชภัณฑ์
3. ส่งเสริมการวิเคราะห์ยาและเวชภัณฑ์รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาและเวชภัณฑ์
4. ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน และให้ซึ่งยาและเวชภัณฑ์
5. ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยาและเวชภัณฑ์
 
ภารกิจ (ตามวิสัยทัศน์)
1. ผลิต จำหน่ายและบริการผลิตภัณฑ์สุขภาพ มุ่งสู่มาตรฐานสากล
2. ดำเนินธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขันในอาเซียนและสามารถพึ่งตนเองได้
3. รักษาระดับราคายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อสังคมไทยเพื่อประชาชนสามารถเข้าถึงได้
4. วิจัยและพัฒนายาและเวชภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นต่อสังคม
5. สำรองยาและเวชภัณฑ์ไว้ยามฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงของชาติ


ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข
1. รักษาระดับราคายาและเวชภัณฑ์ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นโดยเร็ว
2. รักษาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน
3. จัดหาและสนองความต้องการด้านยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
4. จัดหาและสนองความต้องการด้านวัคซีนและเซรุ่มให้แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
5. สำรองยาและเวชภัณฑ์ตามแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ
6. จัดหา ส่งยาและเวชภัณฑ์แก่กองทุนและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้านตามเป้าหมายของโครงการสาธารณสุขมูลฐาน
7. สนับสนุนนโยบายสาธารณสุขอื่นๆ นอกจากเรื่องยา และนโยบายที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ ทั้งด้านการผลิต การจัดหา การกระจาย การบริโภค การควบคุมการพึ่งตนเอง การใช้เทคนิคและทรัพยากรที่เหมาะสมภายในประเทศ

สาขาภาคและบริษัทร่วมทุน

         องค์การเภสัชกรรม มีสาขาภาค จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 

1. องค์การเภสัชกรรม สาขาภาคเหนือ 

44 หมู่ที่ 3 ถนนเชียงใหม่-ฮอด อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230

หมายเลขโทรศัพท์ 0-5344-1315 และ 0-2203-8992-3  หมายเลขโทรสาร 0-5344-1981

เวลาทำการ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น.

 

2. องค์การเภสัชกรรม สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

88 หมู่ที่ 10 ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

หมายเลขโทรศัพท์ 0-4221-8124-6 และ 0-2203-8990-1  หมายเลขโทรสาร 0-4221-8036

เวลาทำการ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น.

 

3. องค์การเภสัชกรรม สาขาภาคใต้

10 ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 5 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

หมายเลขโทรศัพท์ 0-7423-0546-8 และ 0-2203-8994-5  หมายเลขโทรสาร 0-7423-0533-4

เวลาทำการ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น.

 

รายชื่อบริษัทร่วมทุน

บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล โปรดัคส์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด

บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด

โรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

 

องค์การเภสัชกรรมเดินหน้าแผน 3 ระยะ วิจัย พัฒนา การผลิตวัคซีนและชีววัตถุ

ตั้งเป้าเป็นองค์กรหลักสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ และเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่มีโรงงานผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical)

          นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยถึงแผนการวิจัย พัฒนาการผลิตวัคซีนและชีววัตถุขององค์การเภสัชกรรม ว่า องค์การฯ มีภารกิจ วิจัยพัฒนา ผลิต จัดหา และกระจาย วัคซีนและชีววัตถุ ตอบสนองความต้องการให้กับหน่วยงานของรัฐ และเป็นองค์กรหลักทำหน้าที่สร้างความมั่นคงด้านวัคซีนและชีววัตถุให้กับประเทศ รวมถึงสนองนโยบายแห่งชาติด้านวัคซีน และสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการสร้างระบบเครือข่ายการพัฒนางานทางด้านวัคซีนของประเทศไทย ให้มีเอกภาพตามพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561 และขับเคลื่อนให้องค์การฯ เป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่มีโรงงานผลิตชีวเภสัชภัณฑ์(Biopharmaceutical) จึงได้แผนงาน 3 ระยะ  ดังนี้

 

                  แผนระยะสั้น แผนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดสามสายพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ที่โรงงานผลิตวัคซีน ชีววัตถุ ตำบลทับกวาง จังหวัดสระบุรี องค์การฯ จะเร่งดำเนินการผลิตวัคซีนชนิดแรกให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2562 เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 3 (Clinical Trial Phase 3 ) เมื่อผลการศึกษาผ่าน จะดำเนินการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อดำเนินการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

                  พร้อมกันนั้นได้มีการดำเนินการเตรียมการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ คู่ขนานไปด้วยกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาที่สถาบันวิจัยขององค์การฯ โดยเห็นว่าแนวโน้มการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นชนิด 4 สายพันธุ์ ดังนั้นจึงต้องมีการวิจัยพัฒนาเพื่อรองรับอนาคต ส่วนการเตรียมการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อรองรับการระบาดองค์การฯ จะร่วมมือกับเครือข่าย หรือ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อประสานความร่วมมือในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นความมั่นคงของประเทศโดยรวม และพร้อมได้มีแผนเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด H9N2 อย่างใกล้ชิด

                  แผนระยะกลาง แผนการพัฒนาการผลิตวัคซีนปลายน้ำ (Downstream process) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่ไม่ได้เริ่มจากการพัฒนาเชื้อตั้งต้นโดยองค์การฯ แต่เป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเก็บเกี่ยวเชื้อ และทำให้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้วรอการผสมและบรรจุ (Bulk) มาทำการบรรจุที่องค์การฯ ซึ่งจะทำให้ร่นระยะเวลาในการผลิตได้เร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ปี ก็จะสามารถออกผลิตภัณฑ์วัคซีนได้ โดยในเบื้องต้นองค์การฯ มีแผนที่จะทำการบรรจุที่ โรงงานผลิตวัคซีน ชีววัตถุ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ส่วนแผนระยะยาว นั้น ได้มีการจัดทำแผนการวิจัย พัฒนา การผลิตวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Up to down-stream process) โดยกระบวนการผลิตที่เริ่มตั้งแต่การเพาะเลี้ยงเชื้อตั้งต้นในการผลิตจนสามารถทำการเก็บเกี่ยวมาทำให้บริสุทธิ์ ผสม กรอง และบรรจุขวดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 8 - 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อมีการระบาดหรือขาดแคลนวัคซีน เพราะองค์การฯ สามารถผลิตวัคซีนได้เอง ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้  กลุ่มที่ 1 การวิจัยพัฒนาการผลิตวัคซีนจากเชื้อไวรัสโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากเซลล์เพาะเลี้ยง (Cell based)  และการผลิตวัคซีนจากพืช (Plant based)  กลุ่มที่  2 การวิจัยพัฒนาการผลิตวัคซีนจากเชื้อแบคทีเรีย กลุ่มที่ 3 การวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อรองรับกรณีมีการระบาดภายในประเทศ กลุ่มที่ 4 การพัฒนาการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟักชนิด 4 สายพันธุ์

                 ผู้อำนวยการฯ กล่าวต่อไปว่า แผนงานต่างๆ ในข้างต้นนี้ องค์การฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศของภูมิภาคอาเซียนที่มีโรงงานผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharma)  ในอนาคต   พร้อมกันนั้นจะมีการนำเทคโนโลยีด้านวัคซีนใหม่ๆ มาใช้  มีการศึกษาติดตาม ทิศทางการใช้วัคซีนในอนาคตอย่างใกล้ชิด เช่น แนวโน้มการใช้วัคซีนชนิด 1 โด๊สต่อขวด (Single dose vaccine) เป็นต้น รวมถึงให้ความสำคัญกับงานด้านสัตว์ทดลองในการพัฒนาให้ได้รับมาตรฐานสากล  และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตและการแข่งขันด้านราคา ด้วยการผลิตในปริมาณมากๆ (Large Scale) ด้วยขยายความต้องการใช้ในตลาดต่างประเทศให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศค่อนข้างเล็ก การดำเนินงานตามแผนงานและแนวทางต่างๆ นี้องค์การฯ ไม่สามารถสามารถดำเนินการแต่ผู้เดียว จึงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน  อาทิ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์กรมหาชน) หรือ TCELS  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สภากาชาดไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ร่วมให้ข้อคิดเห็นและสนับสนุน เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่ความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

วิวัฒนาการยาไทย

วิวัฒนาการเกี่ยวกับยาไทย

          ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์ทุกหมู่เหล่า และเมื่อมีความเจ็บป่วยมนุษย์ก็ต้องพยายามหาทางแก้ไข บำบัด เพื่อความอยู่รอด มีประวัติที่อ้างอิงได้ว่า มนุษย์เรารู้จักเก็บตัวยาจากพืชมารักษาความเจ็บไข้นับเป็นเวลา ก่อนคริสตกาล ประมาณ3,600 ปี และก็ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับแต่ละยุคแต่ละสมัย เพื่อให้มีผลต่อการรักษา มีรูปร่าง กลิ่น รส เมาะสมแก่การใช้ในการรักษาโรค

          สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ก่อนจะมาถึงปัจจุบันและกว่าจะมาถึงการที่องค์การเภสัชกรรมมีบทบาท ในการผลิตยาอยู่ในขณะนี้นั้น ก็ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ โดยบรรพชนของเราได้ช่วยกันสร้างสมบารมี ลงแรงกายใจตลอดมา ทุกยุค ทุกสมัย สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ที่ถือประโยชน์ในปัจจุบัน จะได้รับรู้ความเป็นมาและทราบถึงความเพียรพยายามของบรรพบุรุษเราว่า ได้ทำอะไรไว้ในเรื่องยาบ้างจนเป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราในปัจจุบันนี้

ยาไทยสมัยอยุธยา

          ยาและการรักษาโรค มีวิวัฒนาการควบคู่มากับวิชาแพทย์ไทย พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ซึ่งเป็นคณะกรรมการท่านหนึ่งในการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช เมื่อ100 ปีเศษ มาแล้วได้ทรงนิพนธ์เรื่อง "แพทย์หมอ" สรุปได้ว่าวิชาแพทย์ (มักเรียกว่า "หมอแพทย์" เพราะ "หมอ" คำเดิม แปลว่า ผู้ชำนาญ) ได้แพร่หลายในเมืองไทยมาช้านานแล้ว โดยได้รับมาจากชาวมคธ หรือฮินดู ยาแก้โรคต่าง ๆ ก็ได้จากการสังเกตและแก้ไขทดลองของคนโบราณจนตั้งเป็นตำราได้ว่า เมื่อเกิดเป็นโรค ไม่สบาย อย่างไร จะกินจะทาอะไรจึงจะหาย และเพื่อให้บรรดาหยูกยาต่าง ๆ ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น จึงมักจะอ้างว่าเป็นตำราที่เทวดา หรือฤาษีมอบให้

          แม้ว่า ตั้งแต่โบราณมาจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา ในเมืองไทยนั้นมีชาวต่างประเทศจากใกล้เคียงได้เดินทางเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และทำมาหากินอยู่มากมายหลายชาติ นอกจากชาวจีนแล้ว ยังมีชาวอินเดีย มลายู อินโดนิเซีย มอญ พม่า ญี่ปุ่น เป็นต้น ชนเหล่านี้ย่อมจะมีหมอของตนเข้ามาด้วย ซึ่งก็มีวิธีการรักษาพยาบาลตามแบบอย่างของเขา แต่ทั้ง ๆ ที่วิธีการรักษาโรคของชนชาติของถิ่นเอเซียเหล่านี้ ไม่แตกต่างกันนัก แต่พวกหมอของแต่ละชาติ (รวมทั้งของไทยเราด้วย) มักจะถือตัว ถือตำรา และครู ไม่ลอกเอาแบบของหมอชาติอื่นมาใช้ปนกับวิธีรักษาของตน ซึ่งเป็นเหตุให้หมอแผนโบราณของไทย เก็บรักษาวัฒนธรรมในการรักษาพยาบาลดั้งเดิมที่ได้มีต้นตอมาจากอินเดียไว้ได้ ไม่ใคร่จะเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีบ้างก็น้อยมาก เป็นเช่นนี้กระทั่งมีชาวยุโรปได้ทะยอยเดินทางด้วยเรือสำเภา เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่ชาวโปรตุเกส เข้ามาใน พ.ศ. 2054 ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

          การแพทย์แผนโบราณถือว่าพืชทุกอย่างมีสรรพคุณเป็นยาทั้งนั้น พืชที่หมอไทยแผนโบราณนำมาใช้ทำยานี้ มักจะเรียกรวม ๆ ว่า "เครื่องสมุนไพร" อาจจะใช้ส่วนใดหรือทุกส่วน นับแต่ราก เปลือก แก่น ใบ ดอก ผล และยาง ทั้งที่เป็นพืชในเมืองไทยและพืชที่มาจากต่างประเทศ

          ลาลูแบร์ อัครราชฑูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2271 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงสภาพของหมอไทย สมัยนั้นว่า ไม่พยายามที่จะศึกษาสรรพคุณของตัวยาแต่ละชนิด นอกจากจะถือเอาตามตำรา ที่ปู่ย่าตายายสั่งสอนกันต่อ ๆ มาเท่า นั้น และกล่าวด้วยว่า หมอในเมืองไทยขณะนั้น เหมือนหมอบ้านนอก ของฝรั่งเศส คือเป็นทั้งหมอและเป็นเภสัชกรไปด้วย

ร้านขายยาสมัยอยุธยา

          จากหนังสือ "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม" ได้กล่าวว่า ในปลายสมัยอยุธยาบนตัวเกาะกรุงศรีอยุธยา มีร้านขายเครื่องสมุนไพรให้แก่ชาวบ้านทั่วไป "ถนนย่านป่ายา มีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทยครบสรรพคุณยาทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา" และในหนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ฉบับชำระครั้งที่ 2 ได้กล่าวถึงย่านและตลาดต่าง ๆ ในกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตอนหนึ่งว่า "ย่านป่ายาขายสรรพเครื่องเทศ เครื่องไทย เป็นสรรพคุณยาทุกสิ่ง " ทั้งยังมีถนนหลวงสายหนึ่งเรียกว่าถนนป่ายา

          นอกจากนั้น คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ฉบับเดียวกันยังได้กล่าวถึง โรงนำยาหลวงซึ่งเรียกว่า "โรงพระโอสถ" อยู่ไม่น้อยกว่า 2 โรงว่า "นอกประตูไพชยนต์นี้ มีโรงพรโอสถฯ" และ "มีโรงพระโอสถตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น" โรงพระโอสถหลวงนี้ นอกจากจะปรุงยาใช้ในพระราชวังแล้ว ยังเตรียมทำยาสำหรับใช้ในกองทัพ เมื่อออกไปทำสงครามด้วย

ยาไทยสมัยรัตนโกสินทร์

          เนื่องจากการแพทย์ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จกกระพุทธยอดฟ้ามหาราช เป็นการแพทย์แผนเดิมสืบต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นยาที่ใช้ก็คงใช้สมุนไพรและซากสัตว์ วัตถุธาตุ เป็นวัตถุในการปรุงยาเหมือนเดิม ในรัชสมัยนี้ได้ทรงปฏิสังขรณ์และสถาปนาวัดโพธาราม ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระเชตุพนวิมลมัคลารามและทรงโปรดให้ "ตั้งตำรายา และฤษีดัดตนไว้เป็นทาน…." นับเป็นจุดแรกของการรวบรวมตำรายาเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้พระพงศ์นรินทร์ราชนิกูล กระโอรสของพระบาทสมเก็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเวลานั้น รับราชการอยู่กรมหมอ เป็นผู้สืบเสาะหาตำรายารักษาโรคทั้งหลายจากพระราชา คณะข้าราชการ ตลอดจนราษฎร ผู้ใดมีตำราดีขอให้จดมาถวาย ครั้งนั้นมีผู้จัดตำรายาถวายเป็นจำนวนหลายฉบับด้วยกัน หมอหลวงได้ตรวจสอบและจดลงเป็นตำราไว้

          ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้มีพระราชโองการให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเซตุพนฯอีก และทรงสนพระทัยในการแพทย์ และทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดเกล้าฯให้รวบรวม เลือกสรรตำราต่าง ๆ ที่สมควรจะเรียนมาตรวจแก้ไข ใช้ของเดิมบ้างประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้างแล้วโปรดให้จาลึกแผ่นศิลา ประดับไว้ในบริเวณวัดพระเชตุพนฯ

          ประมาณ พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) อันเป็นปีที่ 5 ในรัชกาลที่ 3 การแพทย์แผนปัจจุบันได้เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ โดยมีวิวัฒนาการอย่างมั่นคงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้โดยการนำมาของคณะเผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสเตนท์ ของอเมริกัน

          การแพทย์ของไทยในยุคนี้ เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างการแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบัน โดยการแพทย์แผนปัจจุบันได้วิวัฒนาการแทรกซึมการแพทย์แผนโบราณทีละเล็กละน้อยอย่างเชื่องช้าแต่มั่นคง จนถึง พ.ศ.2431 อันเป็นปีที่ 21 ในแผ่นดินสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างศิริราชพยาบาล และตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น นับเป็นปีแรกเริ่มศักราชของการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

          การเริ่มต้นของโรงเรียนแพทย์ยังยึดหลักผสมผสานแผนโบราณเข้ากับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยถ้าเป็นการรักษาทางยา ใช้ครูแผนโบราณ แต่การรักษาบาดแผล การผ่าตัดใช้แผนปัจจุบัน ซึ่งมีฝรั่งเป็นผู้สอน

          คนไทยได้รับอิทธิพลของการแพทย์ตะวันตกมากขึ้นทุกที ๆ แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ไว้ใจเมื่อเริ่มสร้างศิริราชพยาบาลและตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นแล้ว ก็ยังมีผู้นิยมการแพทย์ไทยมากกว่าฝรั่ง คนที่กล้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมีเพียงจำนวนน้อย ส่วนมากกลัวหมอฝรั่ง ทางการต้องออกอุบายต่าง ๆ เพื่อชักชวนคนไข้ให้ไปโรงพยาบาล เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ทางการต้องประกาศให้เงินแก่ผู้ที่ไปคลอดบุตร และยังแถมเบาะและผ้าอ้อมให้อีกด้วย วิธีการเหล่านั้น ผสมกับความเพียรพยายามของผู้ใหญ่ในวงการแพทย์และการศึกษา ทำให้ประชาชนค่อย ๆ เชื่อมใจในคุณประโยชน์ของการแพทย์แบบใหม่มากขึ้น ความสำเร็จของพระบรมราชชนกฯ(เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช สมเด็จพระราชบิดา) ในการชัดจูงให้มูลนิธิร็อคคิเฟลเลอร์ รับช่วยปรับปรุง โรงเรียนแพทย์ให้ทันสมัยและยกระดับถึงขั้นปริญญา ทำให้มีบัณฑิตออกไปช่วยบำบัดโรคภัยให้แก่ประชาชนอย่างได้ผลประจักษ์ความเชื่อของประชาชนจึงเปลี่ยนแปลงไป การค้นพบแอนติไอโอติคในระหว่างสงครามโลกและการแพร่กระจายของยาสมัยใหม่ในชนบททำให้การแพทย์แบบไทยต้องพ่ายแพ้แก่การแพทย์แบบตะวันตกอย่างเด็ดขาด

 

ข้อมูลโดย กองประชาสัมพันธ์

องค์การเภสัชกรรม อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี


 โรงงานผลิตยารังสิต 1 องค์การเภสัชกรรม อีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญของการเพิ่มการเข้าถึงยาคุณภาพมากขึ้น 

            เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออาคารผลิตยารังสิต 1 ว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ” และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ประทับที่ชื่ออาคารดังกล่าว เพื่อให้อาคารผลิตยาขององค์การเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสดังกล่าว โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “อาคารเฉลิมพระเกียรติ” (โรงงานผลิตยารังสิต 1) ณ องค์การเภสัชกรรม สาขาธัญบุรี คลอง 10 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา

            โรงงานผลิตยารังสิต 1 องค์การเภสัชกรรม เป็นโรงงานที่มีศักยภาพการผลิตสูงด้วยวิทยาการเทคโนโลยีชั้นนำ ควบคุมคุณภาพทั้งกระบวนการผลิตแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Batch Record) ทดแทนเอกสารบันทึกการผลิต เป็นโรงงานเดียวในประเทศไทยที่นำระบบนี้มาใช้ สามารถเชื่อมต่องานในแต่ละกระบวนการ ผลิตตามมาตรฐานคุณภาพระดับสากล รองรับความต้องการยาที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น ให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษา สร้างความมั่นคง ยั่งยืนด้านยาของประเทศไทย และอาเซียน

            ภญ.ดร.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า โรงงานผลิตยารังสิต 1 ตั้งอยู่บนพื้นที่ขององค์การเภสัชกรรม อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,274 ล้านบาท เพื่อตอบสนองความต้องการด้านยาของประเทศ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้อย่างทั่วถึง ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเภสัชอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการผลิตยา โรงงานแห่งนี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มดำเนินการผลิตตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 โดยผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ และยาทั่วไป ในหมวดยาแคปซูลและยาเม็ด ปัจจุบันได้รับการรับรองมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยา (GMP) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการตรวจรับรองภายใต้แนวทางเดียวกับมาตรฐาน GMP-PIC/S ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล และกลุ่มประเทศในอาเซียน (AEC) ในการตรวจให้การรับรองการผลิตยาของผู้ผลิตยาในภูมิภาคนี้ และขณะนี้องค์การเภสัชกรรมกำลังดำเนินการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยา Efavirenz Tablets 600 mg ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสเอดส์ ให้ได้รับการรับรอง WHO Prequalification จากองค์การอนามัยโลก (WHO-Geneva) คาดว่าองค์การอนามัยโลกจะได้รับการรับรองภายในปี พ.ศ. 2560

            โรงงานแห่งนี้มีสายการผลิต 4 สาย แบ่งเป็น ยาแคปซูล 2 สาย และยาเม็ด 2 สาย ในปี พ.ศ. 2559 มีกำลังการผลิต 1,136 ล้านเม็ด/แคปซูลต่อปี เมื่อดำเนินการผลิตได้เต็มกำลังทั้ง 4 สายการผลิตจะมีกำลังการผลิตถึง 3,406 ล้านเม็ด/แคปซูลต่อปี และในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จะเพิ่มพื้นที่ Pilot Plant และสายการผลิตที่ 5 รองรับการผลิตยาเม็ด และการบรรจุยาลงแผงแบบความเร็วสูง คาดว่ากำลังการผลิตในอนาคตจะสามารถเพิ่มเป็น 6,745 ล้านเม็ด/แคปซูลต่อปี มีการออกแบบระบบให้โรงงานมีศักยภาพในการผลิตสูง โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ด้านคุณภาพควบคู่กับศักยภาพกำลังการผลิต สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนตลอดทั้งสายการผลิต การควบคุม และการประกันคุณภาพ การจัดเก็บ การกระจายยามีการควบคุมสภาวะแวดล้อม ผลิตในห้องสะอาดโดยใช้ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation System: BAS) มาควบคุมระบบสำคัญ เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมในห้องสะอาดตลอดเวลา ทั้งก่อนผลิต ระหว่างกระบวนการผลิต และหลังการผลิต

         ภญ.ดร.มุกดาวรรณ กล่าวต่อไปว่า โรงงานดังกล่าวมีการนำระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการด้านต่าง ๆ โดยทุกระบบได้ผ่านการตรวจรับรองความถูกต้องตามมาตรฐาน GAMP (Good Automated  Manufacturing Practice) และ US FDA 21 CFR Part 11 ประกอบด้วย ระบบควบคุมการผลิต (Manufacturing Execution System: MES) ซึ่งใช้ในการควบคุมการผลิตและการจัดการสินค้าคงคลัง ด้วยรูปแบบของ Electronic Batch Record ทดแทนเอกสารบันทึกการผลิต ระบบ MES สามารถเชื่อมต่องานในแต่ละกระบวนการ มีการกำหนดขั้นตอนให้ปฏิบัติงาน และบันทึกข้อมูลการผลิตโดยทันที (Real time) ซึ่งเป็นโรงงานเดียวในประเทศไทยที่นำระบบดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ และยังมีระบบบริหารจัดการข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลของห้องปฏิบัติการ (Laboratory Information Management System: LIMS) ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลของห้องปฏิบัติการทั้งทางเคมีและจุลชีววิทยา เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์วัตถุดิบ จะตรวจวิเคราะห์เอกลักษณ์ของวัตถุดิบทั้ง 100% ที่นำมาใช้ในการผลิตยาให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP-PIC/S โดยใช้เทคนิค Infrared spectroscopy (Near-infrared, Raman-infrared) มีการตรวจบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตจนกระทั่งยาสำเร็จรูป สำหรับการประกันคุณภาพได้นำระบบจัดการคุณภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Quality Management System: assurance officer) ตลอด 24 ชั่วโมง ทำการควบคุมกระบวนการตรวจสอบซ้ำ เพื่ออนุมัติกระบวนการชั่งยา การผลิตยา การบรรจุ เพื่อให้กระบวนการผลิตยาเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ยา ทั้งทางด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ยา รวมถึงยังมีกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ด้วย ส่งผลให้ได้รับรางวัล อย.Quality Award ประจำปี พ.ศ. 2559 และมีการดำเนินงานจัดประชุมตามแนวทางการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จนได้รับการรับรอง Green Meetings จากองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)

            ด้วยความมุ่งมั่น ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาด้านยา จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรับการสนับสนุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการผลิต โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการถ่ายทอดวิทยาการ ทักษะ ประสบการณ์ และวิธีการผลิตยาที่สามารถนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้กับการผลิตยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยโรงงานแห่งนี้ครบครันด้วยวิทยาการเทคโนโลยีชั้นนำของโลก จึงมีความพร้อมในทุกมิติสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานของบุคลากรและนักศึกษาในทุกสาขาวิชาชีพอีกด้วย

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาขององค์การเภสัชกรรม

โอสถสภา-โอสถศาลา-โรงงานเภสัชกรรม

          ยาแผนปัจจุบัน ได้ค่อย ๆ ทวีความนิยมในประชาชนคนไทย พร้อม ๆ กันกับความนิยมของประชาชนที่มีต่อการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนปัจจุบันก็ได้เจริญจากกรุงเทพมหานครออกสู่ชนบท พร้อม ๆ กับการเจริญเติบโตของกิจการสาธารณสุขของประเทศซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการจัดตั้งหน่วยงานของทางราชการที่เกี่ยวกับสาธารณสุข อันพอจะสรุปได้ ดังนี้

          พ.ศ. 2429 ตั้ง "คอมมิตตี จัดการโรงพยาบาล" สร้างโรงพยาบาลที่วังหลังธนบุรี (ศิริราชพยาบาล) 25 ธันวาคม 2431 ตั้งกรมพยาบาลขึ้นแทน คอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลที่พ้นหน้าที่ไป

          พ.ศ. 2434 จัดระบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่เป็น 12 กระทรวง จัดให้กรมพยาบาลอยู่ในสังกัดของกระทรวงธรรมการ

          พ.ศ. 2444 มีการตั้งโอสถศาลารัฐบาลอยู่ในกรมพยาบาลเป็นที่สะสมยา

          พ.ศ. 2451 โอนกิจการและกองต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บของประชาชน ตลอดจนแพทย์ประจำเมืองมาสังกัดในกรมกระทรวงมหาดไทย

          พ.ศ. 2455 ตั้งกรมพยาบาลขึ้นใหม่อีกในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีแผนกโอสถศาลารัฐบาล เป็นแผนกหนึ่งใน 6 แผนก

          พ.ศ. 2459 เปลี่ยนชื่อกรมพยาบาล เป็นกรมประชาภิบาล

          พ.ศ. 2461 เปลี่ยนชื่อกรมประชาภิบาลเป็นกรมสาธารณสุข (รวมกิจการสาธารณสุขที่แยกย้ายกันอยู่หลายกระทรวง ให้มารวมเป็นส่วนราชการเดียวกัน)

          พ.ศ. 2478 ฯพณฯ ดร.ตั้ว ลพานุกรมซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงเศรษฐการ ได้พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยควรมีโรงงานผลิตยาเองพนื่องจากสมุนไพรและวัตถุดิบในประเทศก็มี และเป็นการป้องกันไม่ให้เงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศ นอกจากนี้ประเทศเราจะได้มียาสำรองไว้ใช้สำหรับประชาชนในยามคับขันอีกด้วย ดังนั้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2482 ฯพณฯ ดร.ตั้ว ลพานุกรม จึงได้จัดการสร้างโรงงานเภสัชกรรมขึ้น ณ ตำบลพญาไท ในเนื้อที่ประมาณ47 ไร่ ในระยะแรกได้ผลิตยาจำพวกทิงเจอร์ ยาสะกัด ยาเม็ด ยาฉีด ปละโอนเอายาสะกัดวิตามินบีกับการทำยาน้ำมันกระเบา ซึ่งเดิมกองอุตสาหกรรมเคมีทำอยู่มาจัดทำด้วย

          ปลายปี 2483 เนื่องจากทางราชการเห็นว่าโรงงานเภสัชกรรม ดำเนินการในรูปธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมยามากกว่าวิชาการจึงแยกโรงงานเภสัชกรรมออกจากกรมวิทยศาสตร์

          พ.ศ. 2485 รัฐบาลมีนโยาบายที่จะปรับปรุงการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงได้รวบรวมกิจการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งแยกย้ายอยู่ตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ (ยกเว้นการแพทย์ของทหาร ตำรวจ และกรมรถไฟ) มาตั้งเป็น "กระทรวงสาธารณสุข" โดยโรงงานเภสัชกรรมสังกัดอยู่ในกองเภสัชกรรม และกองโอสถศาลาก็ย้ายมาสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขซึ่งในขณะนั้นกองโอสถศาลาก็คงยังผลิตยาตำราหลวง ให้แก่หน่วยงานราชการทั่วราชอาณาจักรและดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้คือ
          1. จัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ เพื่อจำหน่ายแก่หน่วยราชการ 
          2. เก็บสะสมยาที่จำเป็นทั้งในเวลาปกติและสำหรับยาฉุกเฉิน 
          3. ควบคุมคุณภาพและราคายา

          พ.ศ. 2487 กองโอสถศาลา ได้มอบหน้าที่การผลิตยาตำราหลวงให้แก่โรงงานเภสัชกรรม โรงงานเภสัชกรรมจึงได้ปรับปรุงรายการยาตำราหลวงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงรวมแล้วทั้งสิ้น 24 ขนาน ส่วนการจำหน่ายนั้นกองโอสถศาลาเป็นผู้รับผิดชอบ

          พ.ศ. 2485 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้โรงงานเภสัชกรรมพ้นจากสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจบริหารงานโดยคณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข

ยาโอสถสภา (ยาตำราหลวง)

          ความคิดที่จะทำให้ยาดีสำหรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บแพร่หลายไปถึงมือราษฏรตามชนบทโดยสะดวกทั่วกัน ได้เกิดขึ้นภายหลังที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงย้ายมาจากกระทรวงธรรมการไปเป็นเสนาบดี กระทรวงมหาดไทยแล้วเกือบ 10 ปี ถึงแม้การทำยารักษาในระยะนั้นจะเป็นหน้าที่ของกรมพยาบาลในสังกัดกระทรวงธรรมการ แต่เนื่องจากการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ราษฎรตามหัวเมือง (ในสมัยนั้นเรียกว่า "การสาธารณพยาบาล") เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับกระทรวงธรรมการ ไม่มีกำลังพอที่จะดูแลอุดหนุนการอนามัยในหัวเมืองให้บังเกิดผลดีทั่วถึงกันได้ ที่ประชุมเทศาภิบาจึงมอบภาระในเรื่องยารักษาโรคที่จะส่งไปช่วยเหลือราาฎรชนบทนั้นให้กระทรวงมหาดไทยคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงคิดอ่านดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นผลสำเร็จต่อไปด้วยพระองค์ท่านทรงรอบรู้ในเรื่องการอนามัยดีอยู่แล้ว (ด้วยเหตุนี้ในการประชุมเทศาภิบาล ร.ศ. 125 และ ร.ศ.126 (พ.ศ.2449 -2450 ) นั้นเมื่อจะมีการชี้แจงเกี่ยงกับการอนามัยครั้งใด เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกรเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ซึ่งเป็นเจ้าสังกัดของราชการเกี่ยวกับการแพทย์ในส่วนภูมิภาคในครั้งกระนั้น จึงต้องกราบทูลเชิญเสด็จสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้ทรงชี้แจงพระดำริทุกครั้ง)

          เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรับธุระจะจัดการในเรื่องยารักษาโรคแล้วทรงพิจารณาปัญหาในชั้นแรกว่า ควรจะทำยารักษาโรคอะไรบ้าง ข้อหนึ่ง และยาที่ทำนั้นควรจะใช้ยาตามตำรับยาฝรั่งหรือตำรับไทยอีกข้อหนึ่ง ในที่สุดทรงตัดสินพระทัยที่จะใช้ยาฝรั่ง เพราะมีสรรพคุณชะงัดกว่ายาไทย ทั้งยังสามารถจะบรรจุกลักส่งไปตามที่ต่าง ๆ ได้สะดวกด้วย สมเด็จพรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงเชิญแพทย์ฝรั่งทุกชาติ (ส่วนมากเป็นแพทย์มิชชันนารี) ไปประชุมพร้อมกันที่กระทรวงมหาดไทยวันหนึ่ง ทรงชี้แจงแก่แพทย์ฝรั่งว่า รัฐบาลอยากจะได้ตำรับยาฝรั่งบางขนานสำหรับรักษาโรคที่ราษฎรชนบทมักเป็นกันชุกชุม จึงทรงมีพระประสงค์จะให้แพทย์ฝรั่งเหล่านั้นปรึกษากันว่าควรจะทำยาแก้โรคอะไรบ้าง และขอให้จดเครื่องยากับส่วนผสมให้ด้วย แพทย์ฝรั่งพร้อมกันรับจะช่วยให้ตามประสงค์ของรับบาล เมื่อปรึกษาหารือในระหว่างกันเองแล้ว บรรดาแพทย์ฝรั่งตกลงแนะนำให้รัฐบาลทำยาต่าง ๆ 8 ขนาน และกำหนดเครื่องยากับทั้งส่วนผสมยานั้น ๆ ทุกขนาน มอบตำรับยาให้เป็นสมบัติของรัฐบาลส่วนราชการที่จะทำยานั้น หมออะดัมสัน (พระบำบัดสรรพโรค) เอื้อเฟื้อรับทำให้ขั้นแรก ณ ร้านขายยาของเขาที่สี่กั๊กพระยาศรี โดยขอคิดราคาเพียงเท่าทุน และช่วยฝึกหัดคนที่จะผสมยาให้ด้วยจนกว่ากระทรวงธรรมการจะตั้งสถานที่ทำยาแล้วเสร็จและเปิดทำการได้เอง

ยาโอสถสภา 8 ขนาน ที่ทำขึ้นมีดังนี้ 
          1. ยาแก้ไข้ (ควินิน) 
          2. ยาถ่าย 
          3. ยาแก้ลงห้อง 
          4. ยาแก้โรคไส้เลือน 
          5. ยาแก้โรคบิด 
          6. ยำบำรุงโลหิต 
          7. ยาแก้คุดทะราดและเข้าข้อ 
          8. ยาแก้จุกเสียด (โซดามินท์)

          เนื่องจากยาโอสถสภาที่ทำขึ้นนี้ยังเป็นของใหม่ ราษฎรชนบทไม่ใคร่นิยมใช้กัน ในเวลาต่อมากระทรวงมหาดไทยจึงจัดให้ประชุมแพทย์ไทยจัดหาตำรายาไทย เช่นยาเขียว ยาหอม และยาแก้ไข้ แก้ทองเสีย แล้วลองให้แพทย์ไทยจำหน่ายจากโอสถศาลา ก็ปรากฏว่าจำหน่ายได้ยาก เมื่อกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโอสถศาลารัฐบาลขึ้นที่สะพานนพวงศ์ ตรงข้ามโรเรียนเทพศิรินทร์ (พ.ศ.2444 ) และดำเนินการผลิตยาโอสถสภาได้เองแล้ว ได้ผลิตยาโอสถสภาแผนโบราณออกจำหน่ายด้วย ยาแผนโบราณของโอสถศาลามีหลายขนานเช่นยาธาตุบรรจบ ยาจันทรลีลา ยาสุขไสยาสน์ ยากำลังราชสีห์ ยาหอมอินทรจักร เป็นต้น

          ยาโอสถสภาแผนปัจจุบัน 8 ขนานนั้น ทำเป็นเม็ดบรรจุลักเล็ก ๆ ประมาณกลักละ 20 เม็ด ข้างในหลับมีกระดาษใบปลิว บอกวิธีที่จะใช้ยานั้น แล้วรวมกลักยาห่อเป็นชุด ๆ มีใบปลิวโฆษณาสรรพคุณของยาโอสถสภาสอดไปด้วย ข้อความชี้แจงวิธีใช้นั้น ได้พิมพ์ไว้ทั้งภาษาไทย จีน ลาว มลายู และอังกฤษ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแนะนำให้กระทรงธรรมการใช้กระดาษสีต่าง ๆ ทำเป็นใบชี้แจงวิธีใช้ยาอย่างใดก็ให้ใช้สีนั้นประจำอย่างละสี เพื่อจะได้เป็นที่สังเกตง่าย ใครเคยใช้มาแล้วเห็นแต่กระดาษห่อรู้ได้ทีเดียวว่า เป็นยาแก้โรคอะไร อนึ่ง เพื่อจะให้ยาได้แพร่หลายไปในหมู่ราษฎรชนบทที่ยากจนจึงได้จำหน่ายโดยราคาถูก คือ ขายปลีกเสมอกลักละเฟื้อง ผู้ใดรับเหมาไปจำหน่ายมาก ๆ ยอดขายให้ราคาเพียง 12 กลักบาท คือให้มีส่วนลดถึง 50% ถึงกระนั้นในตอนแรกก็ยังไม่เป็นที่นิยมแก่ราษฎรตามหัวเมือง ด้วยขาดผู้จะชี้แจงสรรพคุณของยาให้ราษฎรนิยมและทดลองใช้ พากันเข้าเสียว่า ยาโอสถสภาเป็นยาสูง ถ้าใช้ยานี้แล้วโรคไม่หายจะใช้ยาอื่นไม่ได้ แม้แพทย์ประจำตำบลซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ที่จะชี้แจงกับราษฎรก็ยังมีบางคนเข้าใจผิดอยู่เช่นนั้นที่รับยาไปจำหน่ายมักจะรับไปเพราะคามเกรงใจ รับเอาไว้เกือบปีแล้วนำยามาคืนก็มี บางคนที่เกรงใจไม่นำมาคืน ทิ้งไว้ให้ขึ้นราอยู่ที่บ้าน ยอมขาดทุนก็มีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทราบความขัดข้องก็ได้ทรงพยายามหาทางแก้ไขด้วยอุบายต่าง ๆ เช่นเปิดดวงเงินเชื่อ 1,000 บาท ให้แพทย์หลวงรับไปจำหน่าย ยาที่เสียยอมให้ส่งคืนได้ให้แพทย์ที่ออกทำการปลูกฝีนำยาโอสถสภาออกไปเผยแพร่ด้วย ฯลฯ ในที่สุดราษฎรชนบทที่ลองใช้ยาโอสถสภาก็เห็นคุณของยามากขึ้นโดยลำดับ แพทย์ประจำตำบลบางคนลองเสี่ยงนำออกใช้ดู ครั้นเห็นว่ายาโอสถสภามีสรรพคุณรักษาโรคให้หายได้ชะงัดกว่ายาสมุนไพร ก็เกิดความเชื่อถือ ยาโอสถสภาจึงค่อยแพร่หลายไปในชนบทดังจะเห็นได้จากสถิติการจำหน่าย ดังต่อไปนี้
          พ.ศ. 2449 จำหน่ายได้ 19,743 ตลับ 
          พ.ศ. 2450 จำหน่ายได้ 80,082 ตลับ 
          พ.ศ. 2451 จำหน่ายได้ 112,596 ตลับ

          ยาโอสถสภาหรือยาตำราหลวงแผนปัจจุบัน คงทำขึ้นเพียง 8 ขนาน ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2464 รองอำมาตย์โทขุนยำราศนราดูรแพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี ในขณะนั้น ได้เสนอความเห็นไปยัง พระพิศณุโลกบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี (ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยานครพระราม) ความว่า "….ยาโอสถศาลา (ภายหลังเรียกว่า ยาตำราหลวง) ที่รัฐบาลทำจำหน่ายเพื่อเป็นการสงเคราะห์ราษฎรในเวลานี้มีเพียง 8 ขนานเท่านั้น โรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ ซึ่งราษฎรตามบ้านนอกเป็นกันชุกชุมแลควรจะบำบัดเสียในขั้นต้นยังมีอีกมากแลราษฎรตามบ้านนอกนั้นย่อมหายาดี ๆ ใช้ยากแลแพทย์ที่จะช่วยบำบัดก็ไม่มี เห็นว่าควรมียาโอสถสภาชนิดอื่นเพิ่มขึ้นอีกบ้างตามโรคซึ่งราษฎรเป็นกันชุกชุม เพื่อเป็นการสงเคราะห์ราษฎรช่วยป้องกันหรือบำบัดเสียในขั้นแรก…" และได้เสนอรายชื่อยาที่ควรเพิ่มไปยังกรมสาธารณสุขด้วย กรมสาธารณสุขเห็นชอบด้วยกับความคิดนั้นจึงได้ให้โอสถศาลา รัฐบาลทำการผลิตยาตำราหลวงเพิ่มขึ้นเป็น 25 ขนาน ครั้นต่อมาเมื่อโรงงานเภสัชกรรมกระทรวงสาธารณสุขรับหน้าที่ผลิตยาตำราหลวงสืบต่อจากกองโอสถศาลา รัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ.2487 ก็ได้เพิ่มยาตำราหลวงขึ้นอีก 4 ขนาน จนกระทั่ง พ.ศ. 2503-2504 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มและลดยาบางขนาน

          ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติ ยาสามัญประจำบ้าน พ.ศ. 2536 ประกาศให้มียาสามัญประจำบ้าน จำนวน 42 รายการ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตออกจำหน่ายทุกกลุ่มยา ในชื่อยาตำราหลวง จำนวน 37 รายการ ในปี 2542 กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุง ประกาศเรื่องยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันระบุให้มียาสามัญประจำบ้าน จำนวน 53 รายการ องค์การเภสัชกรรมผลิตออกจำหน่าย 21 รายการ และผลิตยาตำราหลวงชุด 7 รายการ และจัดชุดยาตำราหลวงเวชภัณฑ์ประจำรถ First Fid Kid รวมด้วย

ข้อมูลโดย กองประชาสัมพันธ์