GPO :

INNOVATIVE CARE FOR LIFE

GPO :

INNOVATIVE CARE FOR LIFE

Strategic plan and Our achievements

แผนยุทธศาสตร์

ผลการดำเนินงาน

รายงานประจำปี

ข้อมูลสำคัญ

Organizational Structure

คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม


นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์
ประธานกรรมการ

 
นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข

นพ. เจษฎา โชคดำรงสุข
กรรมการ
(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)

นายปิยกร อภิบาลศรี
กรรมการ
ผู้แทนกระทรวงการคลัง(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ
กรรมการ
 
รศ.ดร.อัศม์เดช วานิชชินชัย
กรรมการ
(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)
 
รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม
กรรมการ
(กรรมการในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ Directors'Pool)
 
ภก.ธีระพล เกียรติสุรนนท์
กรรมการ
 

ศ. นพ. วินัย วนานุกูล
กรรมการ
 
ดร.จรสพร เฉลิมเตียรณ
กรรมการ

รศ. ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล
กรรมการ
พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์
กรรมการและเลขานุการ
(โดยตำแหน่ง)

 

 

 

คณะผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์
ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8100 หมายเลขโทรสาร 0-2354-8850
 
ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8105 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายผลิตยา
  • โรงงานผลิตยารังสิต ๑
  • โรงงานผลิตยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตา-แลคแตม
  • การประกันคุณภาพโรงงานผลิตยารังสิต ๑
ภญ.ดนตรี เกษสุวรรณสิงห์
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8102 หมายเลขโทรสาร 0-2354-8793
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์
  • กองกิจการโครงการพิเศษ
ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8104 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายการตลาดและการขาย
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สาขาภาคทุกสาขา
  • กองประชาสัมพันธ์
นายรังษี ปัดลี
รองผู้อำนวยการ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8107 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายชีววัตถุ
  • โรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ
  • การประกันคุณภาพชีววัตถุ

ภญ.อมรรัตน์ สืบบุญเชิญวงศ์
รองผู้อำนวยการ

ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8103 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • สำนักบริหารยุทธศาสตร์
  • สำนักอำนวยการ (ยกเว้นกองธุรกิจร่วมทุน กองพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืนและกองประชาสัมพันธ์)
  • ฝ่ายบัญชีและการเงิน
 
ภญ.สุนทรี ตันติทวีวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8106 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายบริหารพัสดุและผลิตภัณฑ์ (ยกเว้น สาขาภาคทุกสาขา)
  • ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล
 
ภญ.สุพร อิงอุดมนุกูล
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ช่องทางการติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 0-2203-8072 หมายเลขโทรสาร 0-2203-8212
กำกับดูแลหน่วยงานและบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสังกัด ดังนี้
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ
  • ฝ่ายทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • ฝ่ายสมุนไพรและเภสัชเคมีภัณฑ์
  • กองงานประกันคุณภาพ
 
ภญ.วีณา เสถียรโภคทรัพย์
ผู้เชี่ยวชาญ 10
ภญ.ปาริชาติ แคล้วปลอดทุกข์
ผู้เชี่ยวชาญ 10
ภญ.ยุวพร ศรีน้อย
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทุนมนุษย์
ภญ.อมรรัตน์ สืบบุญเชิญวงศ์
รักษาการผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
ดร.ภก.จตุพล เจริญกิจไพบูลย์
รักษาการผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์ และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์และพัฒนาธุรกิจ
ภญ.ศรีสมัย โมกขมรรคกุล
รักษาการผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน
นางสาวรัตนา คงฉิม
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
ภญ.วิลักษณ์ วังกานนท์
ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตยา
ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายชีววัตถุ
ดร.ภญ.ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ
ผู้อำนวยการฝ่ายสมุนไพรและเภสัชเคมีภัณฑ์
ภญ.อุบลรัตน์ สินรักษา
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและวิศวกรรม
ภญ.สุวิมล วรเกษมสุข
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
ภญ.จิรารัตน์ ตรีรัตนพันธ์
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารพัสดุและผลิตภัณฑ์
ภญ.อัญชลี ตรีรัตนกุลวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพและรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ 2
ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล
รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ภญ.ศุภราศรี เพิ่มเจริญ
ผู้จัดการโรงงานผลิตยารังสิต 1
ภญ.อัญเชิญ ตันติสังวรากูร
ผู้จัดการการประกันคุณภาพ โรงงานผลิตยารังสิต 1
ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์
รักษาการผู้จัดการโรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ
นางสุมาลี ปรางค์ประทานพร
ผู้จัดการการประกันคุณภาพชีววัตถุ
ภญ.สุพร อิงอุดมนุกูล
รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายทะเบียนยาและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  ภญ.กฤษณา ศรีคำมุล
ผู้จัดการโรงงานผลิตยารังสิต 2 และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายโรงงานผลิตยารังสิต 2

  ผู้จัดการโรงงานผลิตยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตา-แลคแตม
 
 
 
 

 

 

โครงสร้างองค์กร

Mission

Vision

"To be a leader in pharmaceutical product and medical supply business sustainably beneficial and essential to the Thai society and ASEAN Community."

Mission (According to the GPO act of 1966)

1. To manufacture medicines and medical supplies.

2. To promote for studies and research created on manufacture of medicines and medical supplies.

3. To promote the analysis of medicines and medical supplies including raw materials used in their manufactures.

4. To purchase, sell, trade and provide in medicines and medical supplies.

5. To operate in business related to manufacture of medicines and medical supplies.  

 

Mission

1. To manufacture, sell and supply health quality products supplies with an aim to achieve world-class standard.

2. To develop business to ensure competitiveness in Asean and self-sustainability.

3. To maintain price level of pharmaceutical products and medical supplies necessary for the Thai society to ensure people’s accessibility.

4. To research and develop new pharmaceutical products and medical supplies to respond to the need and necessity of the society.

5. To reserve for pharmaceutical products and medical supplies in to the national

security drugs system. 

Branches and Joint Ventures

GPO’s Branch

1. North-eastern Branch

North-eastern Branch Amphoe Mueang, Udon Thani

Telephone 0-4221-8124-6 Fax 0-4221-8036

2. Northern Branch

Northern Branch Amphoe Hang Dong, Chiang Mai

Telephone 0-5344-1315 Fax 0-5344-1981

3. Southern Branch

Southern Branch Amphoe Hat Yai, Songkhla

Telephone 0-7423-0546-8 Fax 0-7423-0533

 

 

GPO’s Joint Venture Companies  

1. General Hospital Products Public Company Limited

Address : 101/99 Soi Navanakorn 7,

Phaholyothin Road, Khlong

Luang District, Pathum Thani 12120

Tel. 0-2529-2560-6

Fax 0-2529-2566

Core Business : Normal Saline Solution, Dialysis Solution

Authorized Capital : THB 120 million

GPO’s Shares : 40% (THB 48 million)  

 

2. Thai Herbal Products Company Limited

Address : Factory Land at Wangnoi

130/149 Mu 3, Wangnoi District,

Phra Nakhon Si Ayutthaya 13170

Tel. 0-3572-1445-7

Fax 0-3572-1743

Core Business : Herbal Products

Authorized Capital : THB 80 million

GPO’s Shares : 49% (THB 39.2 million)  

 

3. Government Pharmaceutical Organization-Merieux

Biological Products Company Limited

Address : Gateway City Industrial Estate

241 Mu 7, T. Hua Sam Rong, Plaeng Yao

District, Chachoengsao 24190

Tel. 0-3857-5200

Fax 0-3857-5428

Core Business : Manufacture and sell human vaccine

Authorized Capital : THB 300 million

GPO’s Shares : 49% (THB 147 million)  

Biological Product (Vaccine) Factory, Saraburi

 

องค์การเภสัชกรรมเดินหน้าแผน 3 ระยะ วิจัย พัฒนา การผลิตวัคซีนและชีววัตถุ

ตั้งเป้าเป็นองค์กรหลักสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ และเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่มีโรงงานผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical)

          นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยถึงแผนการวิจัย พัฒนาการผลิตวัคซีนและชีววัตถุขององค์การเภสัชกรรม ว่า องค์การฯ มีภารกิจ วิจัยพัฒนา ผลิต จัดหา และกระจาย วัคซีนและชีววัตถุ ตอบสนองความต้องการให้กับหน่วยงานของรัฐ และเป็นองค์กรหลักทำหน้าที่สร้างความมั่นคงด้านวัคซีนและชีววัตถุให้กับประเทศ รวมถึงสนองนโยบายแห่งชาติด้านวัคซีน และสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการสร้างระบบเครือข่ายการพัฒนางานทางด้านวัคซีนของประเทศไทย ให้มีเอกภาพตามพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561 และขับเคลื่อนให้องค์การฯ เป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่มีโรงงานผลิตชีวเภสัชภัณฑ์(Biopharmaceutical) จึงได้แผนงาน 3 ระยะ  ดังนี้

 

                  แผนระยะสั้น แผนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดสามสายพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ที่โรงงานผลิตวัคซีน ชีววัตถุ ตำบลทับกวาง จังหวัดสระบุรี องค์การฯ จะเร่งดำเนินการผลิตวัคซีนชนิดแรกให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2562 เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 3 (Clinical Trial Phase 3 ) เมื่อผลการศึกษาผ่าน จะดำเนินการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อดำเนินการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

                  พร้อมกันนั้นได้มีการดำเนินการเตรียมการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ คู่ขนานไปด้วยกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาที่สถาบันวิจัยขององค์การฯ โดยเห็นว่าแนวโน้มการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นชนิด 4 สายพันธุ์ ดังนั้นจึงต้องมีการวิจัยพัฒนาเพื่อรองรับอนาคต ส่วนการเตรียมการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อรองรับการระบาดองค์การฯ จะร่วมมือกับเครือข่าย หรือ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อประสานความร่วมมือในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นความมั่นคงของประเทศโดยรวม และพร้อมได้มีแผนเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด H9N2 อย่างใกล้ชิด

                  แผนระยะกลาง แผนการพัฒนาการผลิตวัคซีนปลายน้ำ (Downstream process) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่ไม่ได้เริ่มจากการพัฒนาเชื้อตั้งต้นโดยองค์การฯ แต่เป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเก็บเกี่ยวเชื้อ และทำให้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้วรอการผสมและบรรจุ (Bulk) มาทำการบรรจุที่องค์การฯ ซึ่งจะทำให้ร่นระยะเวลาในการผลิตได้เร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ปี ก็จะสามารถออกผลิตภัณฑ์วัคซีนได้ โดยในเบื้องต้นองค์การฯ มีแผนที่จะทำการบรรจุที่ โรงงานผลิตวัคซีน ชีววัตถุ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ส่วนแผนระยะยาว นั้น ได้มีการจัดทำแผนการวิจัย พัฒนา การผลิตวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Up to down-stream process) โดยกระบวนการผลิตที่เริ่มตั้งแต่การเพาะเลี้ยงเชื้อตั้งต้นในการผลิตจนสามารถทำการเก็บเกี่ยวมาทำให้บริสุทธิ์ ผสม กรอง และบรรจุขวดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 8 - 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อมีการระบาดหรือขาดแคลนวัคซีน เพราะองค์การฯ สามารถผลิตวัคซีนได้เอง ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้  กลุ่มที่ 1 การวิจัยพัฒนาการผลิตวัคซีนจากเชื้อไวรัสโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากเซลล์เพาะเลี้ยง (Cell based)  และการผลิตวัคซีนจากพืช (Plant based)  กลุ่มที่  2 การวิจัยพัฒนาการผลิตวัคซีนจากเชื้อแบคทีเรีย กลุ่มที่ 3 การวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อรองรับกรณีมีการระบาดภายในประเทศ กลุ่มที่ 4 การพัฒนาการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟักชนิด 4 สายพันธุ์

                 ผู้อำนวยการฯ กล่าวต่อไปว่า แผนงานต่างๆ ในข้างต้นนี้ องค์การฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศของภูมิภาคอาเซียนที่มีโรงงานผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharma)  ในอนาคต   พร้อมกันนั้นจะมีการนำเทคโนโลยีด้านวัคซีนใหม่ๆ มาใช้  มีการศึกษาติดตาม ทิศทางการใช้วัคซีนในอนาคตอย่างใกล้ชิด เช่น แนวโน้มการใช้วัคซีนชนิด 1 โด๊สต่อขวด (Single dose vaccine) เป็นต้น รวมถึงให้ความสำคัญกับงานด้านสัตว์ทดลองในการพัฒนาให้ได้รับมาตรฐานสากล  และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตและการแข่งขันด้านราคา ด้วยการผลิตในปริมาณมากๆ (Large Scale) ด้วยขยายความต้องการใช้ในตลาดต่างประเทศให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศค่อนข้างเล็ก การดำเนินงานตามแผนงานและแนวทางต่างๆ นี้องค์การฯ ไม่สามารถสามารถดำเนินการแต่ผู้เดียว จึงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน  อาทิ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์กรมหาชน) หรือ TCELS  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สภากาชาดไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ร่วมให้ข้อคิดเห็นและสนับสนุน เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่ความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

History of Thai Medicine

วิวัฒนาการเกี่ยวกับยาไทย

          ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์ทุกหมู่เหล่า และเมื่อมีความเจ็บป่วยมนุษย์ก็ต้องพยายามหาทางแก้ไข บำบัด เพื่อความอยู่รอด มีประวัติที่อ้างอิงได้ว่า มนุษย์เรารู้จักเก็บตัวยาจากพืชมารักษาความเจ็บไข้นับเป็นเวลา ก่อนคริสตกาล ประมาณ3,600 ปี และก็ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับแต่ละยุคแต่ละสมัย เพื่อให้มีผลต่อการรักษา มีรูปร่าง กลิ่น รส เมาะสมแก่การใช้ในการรักษาโรค

          สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ก่อนจะมาถึงปัจจุบันและกว่าจะมาถึงการที่องค์การเภสัชกรรมมีบทบาท ในการผลิตยาอยู่ในขณะนี้นั้น ก็ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ โดยบรรพชนของเราได้ช่วยกันสร้างสมบารมี ลงแรงกายใจตลอดมา ทุกยุค ทุกสมัย สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ที่ถือประโยชน์ในปัจจุบัน จะได้รับรู้ความเป็นมาและทราบถึงความเพียรพยายามของบรรพบุรุษเราว่า ได้ทำอะไรไว้ในเรื่องยาบ้างจนเป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราในปัจจุบันนี้

ยาไทยสมัยอยุธยา

          ยาและการรักษาโรค มีวิวัฒนาการควบคู่มากับวิชาแพทย์ไทย พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ซึ่งเป็นคณะกรรมการท่านหนึ่งในการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช เมื่อ100 ปีเศษ มาแล้วได้ทรงนิพนธ์เรื่อง "แพทย์หมอ" สรุปได้ว่าวิชาแพทย์ (มักเรียกว่า "หมอแพทย์" เพราะ "หมอ" คำเดิม แปลว่า ผู้ชำนาญ) ได้แพร่หลายในเมืองไทยมาช้านานแล้ว โดยได้รับมาจากชาวมคธ หรือฮินดู ยาแก้โรคต่าง ๆ ก็ได้จากการสังเกตและแก้ไขทดลองของคนโบราณจนตั้งเป็นตำราได้ว่า เมื่อเกิดเป็นโรค ไม่สบาย อย่างไร จะกินจะทาอะไรจึงจะหาย และเพื่อให้บรรดาหยูกยาต่าง ๆ ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น จึงมักจะอ้างว่าเป็นตำราที่เทวดา หรือฤาษีมอบให้

          แม้ว่า ตั้งแต่โบราณมาจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา ในเมืองไทยนั้นมีชาวต่างประเทศจากใกล้เคียงได้เดินทางเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และทำมาหากินอยู่มากมายหลายชาติ นอกจากชาวจีนแล้ว ยังมีชาวอินเดีย มลายู อินโดนิเซีย มอญ พม่า ญี่ปุ่น เป็นต้น ชนเหล่านี้ย่อมจะมีหมอของตนเข้ามาด้วย ซึ่งก็มีวิธีการรักษาพยาบาลตามแบบอย่างของเขา แต่ทั้ง ๆ ที่วิธีการรักษาโรคของชนชาติของถิ่นเอเซียเหล่านี้ ไม่แตกต่างกันนัก แต่พวกหมอของแต่ละชาติ (รวมทั้งของไทยเราด้วย) มักจะถือตัว ถือตำรา และครู ไม่ลอกเอาแบบของหมอชาติอื่นมาใช้ปนกับวิธีรักษาของตน ซึ่งเป็นเหตุให้หมอแผนโบราณของไทย เก็บรักษาวัฒนธรรมในการรักษาพยาบาลดั้งเดิมที่ได้มีต้นตอมาจากอินเดียไว้ได้ ไม่ใคร่จะเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีบ้างก็น้อยมาก เป็นเช่นนี้กระทั่งมีชาวยุโรปได้ทะยอยเดินทางด้วยเรือสำเภา เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่ชาวโปรตุเกส เข้ามาใน พ.ศ. 2054 ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

          การแพทย์แผนโบราณถือว่าพืชทุกอย่างมีสรรพคุณเป็นยาทั้งนั้น พืชที่หมอไทยแผนโบราณนำมาใช้ทำยานี้ มักจะเรียกรวม ๆ ว่า "เครื่องสมุนไพร" อาจจะใช้ส่วนใดหรือทุกส่วน นับแต่ราก เปลือก แก่น ใบ ดอก ผล และยาง ทั้งที่เป็นพืชในเมืองไทยและพืชที่มาจากต่างประเทศ

          ลาลูแบร์ อัครราชฑูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2271 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงสภาพของหมอไทย สมัยนั้นว่า ไม่พยายามที่จะศึกษาสรรพคุณของตัวยาแต่ละชนิด นอกจากจะถือเอาตามตำรา ที่ปู่ย่าตายายสั่งสอนกันต่อ ๆ มาเท่า นั้น และกล่าวด้วยว่า หมอในเมืองไทยขณะนั้น เหมือนหมอบ้านนอก ของฝรั่งเศส คือเป็นทั้งหมอและเป็นเภสัชกรไปด้วย

ร้านขายยาสมัยอยุธยา

          จากหนังสือ "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม" ได้กล่าวว่า ในปลายสมัยอยุธยาบนตัวเกาะกรุงศรีอยุธยา มีร้านขายเครื่องสมุนไพรให้แก่ชาวบ้านทั่วไป "ถนนย่านป่ายา มีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทยครบสรรพคุณยาทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา" และในหนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ฉบับชำระครั้งที่ 2 ได้กล่าวถึงย่านและตลาดต่าง ๆ ในกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตอนหนึ่งว่า "ย่านป่ายาขายสรรพเครื่องเทศ เครื่องไทย เป็นสรรพคุณยาทุกสิ่ง " ทั้งยังมีถนนหลวงสายหนึ่งเรียกว่าถนนป่ายา

          นอกจากนั้น คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ฉบับเดียวกันยังได้กล่าวถึง โรงนำยาหลวงซึ่งเรียกว่า "โรงพระโอสถ" อยู่ไม่น้อยกว่า 2 โรงว่า "นอกประตูไพชยนต์นี้ มีโรงพรโอสถฯ" และ "มีโรงพระโอสถตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น" โรงพระโอสถหลวงนี้ นอกจากจะปรุงยาใช้ในพระราชวังแล้ว ยังเตรียมทำยาสำหรับใช้ในกองทัพ เมื่อออกไปทำสงครามด้วย

ยาไทยสมัยรัตนโกสินทร์

          เนื่องจากการแพทย์ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จกกระพุทธยอดฟ้ามหาราช เป็นการแพทย์แผนเดิมสืบต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นยาที่ใช้ก็คงใช้สมุนไพรและซากสัตว์ วัตถุธาตุ เป็นวัตถุในการปรุงยาเหมือนเดิม ในรัชสมัยนี้ได้ทรงปฏิสังขรณ์และสถาปนาวัดโพธาราม ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระเชตุพนวิมลมัคลารามและทรงโปรดให้ "ตั้งตำรายา และฤษีดัดตนไว้เป็นทาน…." นับเป็นจุดแรกของการรวบรวมตำรายาเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้พระพงศ์นรินทร์ราชนิกูล กระโอรสของพระบาทสมเก็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเวลานั้น รับราชการอยู่กรมหมอ เป็นผู้สืบเสาะหาตำรายารักษาโรคทั้งหลายจากพระราชา คณะข้าราชการ ตลอดจนราษฎร ผู้ใดมีตำราดีขอให้จดมาถวาย ครั้งนั้นมีผู้จัดตำรายาถวายเป็นจำนวนหลายฉบับด้วยกัน หมอหลวงได้ตรวจสอบและจดลงเป็นตำราไว้

          ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้มีพระราชโองการให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเซตุพนฯอีก และทรงสนพระทัยในการแพทย์ และทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดเกล้าฯให้รวบรวม เลือกสรรตำราต่าง ๆ ที่สมควรจะเรียนมาตรวจแก้ไข ใช้ของเดิมบ้างประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้างแล้วโปรดให้จาลึกแผ่นศิลา ประดับไว้ในบริเวณวัดพระเชตุพนฯ

          ประมาณ พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) อันเป็นปีที่ 5 ในรัชกาลที่ 3 การแพทย์แผนปัจจุบันได้เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ โดยมีวิวัฒนาการอย่างมั่นคงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้โดยการนำมาของคณะเผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสเตนท์ ของอเมริกัน

          การแพทย์ของไทยในยุคนี้ เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างการแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบัน โดยการแพทย์แผนปัจจุบันได้วิวัฒนาการแทรกซึมการแพทย์แผนโบราณทีละเล็กละน้อยอย่างเชื่องช้าแต่มั่นคง จนถึง พ.ศ.2431 อันเป็นปีที่ 21 ในแผ่นดินสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างศิริราชพยาบาล และตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น นับเป็นปีแรกเริ่มศักราชของการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

          การเริ่มต้นของโรงเรียนแพทย์ยังยึดหลักผสมผสานแผนโบราณเข้ากับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยถ้าเป็นการรักษาทางยา ใช้ครูแผนโบราณ แต่การรักษาบาดแผล การผ่าตัดใช้แผนปัจจุบัน ซึ่งมีฝรั่งเป็นผู้สอน

          คนไทยได้รับอิทธิพลของการแพทย์ตะวันตกมากขึ้นทุกที ๆ แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ไว้ใจเมื่อเริ่มสร้างศิริราชพยาบาลและตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นแล้ว ก็ยังมีผู้นิยมการแพทย์ไทยมากกว่าฝรั่ง คนที่กล้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมีเพียงจำนวนน้อย ส่วนมากกลัวหมอฝรั่ง ทางการต้องออกอุบายต่าง ๆ เพื่อชักชวนคนไข้ให้ไปโรงพยาบาล เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ทางการต้องประกาศให้เงินแก่ผู้ที่ไปคลอดบุตร และยังแถมเบาะและผ้าอ้อมให้อีกด้วย วิธีการเหล่านั้น ผสมกับความเพียรพยายามของผู้ใหญ่ในวงการแพทย์และการศึกษา ทำให้ประชาชนค่อย ๆ เชื่อมใจในคุณประโยชน์ของการแพทย์แบบใหม่มากขึ้น ความสำเร็จของพระบรมราชชนกฯ(เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช สมเด็จพระราชบิดา) ในการชัดจูงให้มูลนิธิร็อคคิเฟลเลอร์ รับช่วยปรับปรุง โรงเรียนแพทย์ให้ทันสมัยและยกระดับถึงขั้นปริญญา ทำให้มีบัณฑิตออกไปช่วยบำบัดโรคภัยให้แก่ประชาชนอย่างได้ผลประจักษ์ความเชื่อของประชาชนจึงเปลี่ยนแปลงไป การค้นพบแอนติไอโอติคในระหว่างสงครามโลกและการแพร่กระจายของยาสมัยใหม่ในชนบททำให้การแพทย์แบบไทยต้องพ่ายแพ้แก่การแพทย์แบบตะวันตกอย่างเด็ดขาด

 

ข้อมูลโดย กองประชาสัมพันธ์

The “Rangsit 1” Manufacturing Plant, GPO

The “Rangsit 1” Manufacturing Plant, GPO

The “Rangsit 1” Manufacturing Plant is a factory which performs its production operations utilizing advanced technology; these operations are undertaken in accordance with international quality standards. The plant’s production helps to answer the increasing demand for medicines, assists patients in gaining easy access to medicines and supports a condition of stability and sustainability in terms of medicines both within Thailand and ASEAN.

The “Chalerm Phra Kiet” Building 

In celebration of the 60th Birthday Anniversary of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, Her Royal Highness graciously provided the name “Chalerm Phra Kiet” for this new building at the “Rangsit 1” Manufacturing Plant and graciously allowed an emblem commemorating the auspicious ceremony for the 60th Birthday Anniversary to adorn the building. On Thursday 2nd June 2016 Her Royal Highness opened the “Chalerm Phra Kiet” Building at GPO, Klong 10, Thanyaburi District, Pathum Thani Province.

The “Rangsit 1” Manufacturing Plant is situated on GPO premises in Thanyaburi District, Pathum Thani Province; the total cost for its construction and the installation of its machines was 1,274 million baht. The plant’s leading aims are to respond to the high demand for drugs within the country, to assist patients in the thorough and easy access to medicines, to reduce the need to import drugs from abroad, to raise production standards in order that they might be recognized internationally and to become a learning center for production technology within the pharmaceutical industry. The construction of this plant was completed and production operations were commenced in June 2015. Antiretroviral drugs and general drugs, in both tablet and capsule form,  totaling 13 separate items of medicine are manufactured at the plant; for example: antibiotic drugs, anticonvulsant drugs, drugs to prevent neuropathic pain, antacid drugs, anti-inflammatory drugs and drugs to treat diabetes. In the future, an additional 14 items of medicines will also be produced, including antidepressant drugs, iodine and iron supplement drugs, antituberculosis drugs, antihypertensive drugs, drugs for the prevention of migraine, antivertigo drugs and antifungal drugs.

This plant is currently certified with the GMP PIC/S international standard and AEC standards from the Thai Food and Drug Administration (FDA), Ministry of Public Health. GPO is at present working on raising the standard of its Efavirenz Tablets 600 mg, an antiretroviral drug, in order to gain accreditation with WHO Prequalification from the World Health Organization (WHO-Geneva). It is expected that GPO will attain the accreditation within 2017.

The “Rangsit 1” Manufacturing Plant manufactures 4 production lines of drugs in a solid dosage form, these being 2 lines of hard gelatin capsules and 2 lines of tablets. In 2016 production capacity equaled 1,136 million tablets/capsules per annum. When the full capacity of the four production lines is implemented, the production capacity will rise to up to 3,406 million tablets/capsules per annum. Within the next 5 years, a pilot plant and a 5th production line to support the production of tablets and high speed packing will be implemented. It is anticipated that in the future production will increase to up to 6,745 million tablets/capsules per annum. The plant’s systems have been designed to be of high production capacity and to focus on quality as well as capacity. Every step of the production line, quality control, quality assurance, storage and distribution can be traced back. The environment during production operations, within clean rooms, is thoroughly controlled at all times by a Building Automation System (BAS) including prior to production, during the production process and after production completion.

The plant employs information systems for the management of various aspects of its operations. Each system has passed accreditation with the Good Automated Manufacturing Practice (GAMP) standard and complied with US FDA 21 CFR Part 11 regulations. A Manufacturing Execution System (MES) is used for controlling production and inventory management. By using electronic batch records to replace paper batch records, MES is able to connect the tasks within each procedure, set the process workflow and record the production data in real time. This plant is the only one in Thailand to operate entirely via the use of such systems. Moreover, a Laboratory Information Management System (LIMS) is employed for the management of the analytical data from both the plant’s chemical laboratory and its microbiological laboratory, from the analysis of raw materials and packaging materials, through in-process products, to the finished products. Furthermore, an Electronic Quality Management System (EQMS) is used in respect of quality assurance for the management of quality, document control and training. In addition, the plant is equipped with quality assurance officers, available 24 hours a day, to review, inspect and approve the processes of weighing, manufacturing and packing. This is in order to ensure that the production process is done in accordance with international standards and to enhance consumer confidence in pharmaceutical products in terms of quality, safety and efficacy. In addition, the plant also arranges activities in respect of Corporate Social Responsibility (CSR). The plant received a Quality Award for the year 2559 from the FDA and received “Green Meeting” certification from the Thailand Business Council for Sustainable Development (TBCSD) for arranging its meetings in accordance with the guidelines for the efficient use of resources and energy.

The Government Pharmaceutical Organization

The Government Pharmaceutical Organization

  The Government Pharmaceutical Organization (GPO) is a state enterprise which operates under the Ministry of Public Health. It was founded by Princess Srinagarindra, who as regent, affixed the royal signature to the GPO Act of 1966 (B.E. 2509) on 5th August 1966. GPO was established via a merger of the Pharmaceutical Manufacturing Plant (founded 1939) and the Pharmaceutical Department (founded 1901). 

“Pharmaceutical Manufacturing Plant” the foundation of GPO

Dr. Tua Lophanukrom laid the foundation for the Pharmaceutical Manufacturing Plant and determined the strategy for scientific and pharmaceutical works within the country, in order that these works might be provided with a firm foundation. This plant was established on 47 acres of crown property (today operating as the headquarters of GPO), at a time when Dr. Lophanukrom held the positions of Minister for the Economy and Director General of the Science Department, with the aim of promoting the local pharmaceutical industry in the production of quality medicines for domestic use. This production was required in order to reduce the high expenditure of importing medicines, to be able to reserve medicines and medical supplies for use within the country and to prevent shortages of medicines and medical supplies during situations of emergency. 

The first building to form part of the Pharmaceutical Manufacturing Plant consisted of a single-storey and its construction was completed in June 1940; further buildings were later added. The construction was financed from the budget of the Department of Science and a fund for a pharmaceutical manufacturing plant, to a total of 71,324 baht. At the beginning of operations 25 different products were produced and launched. These products comprised 3 items of injections, 7 items of tablets, 9 items of tinctures, 1 item of extract, 1 item of spirit, 3 items of drugs produced from Chaulmoogra oil for the treatment of leprosy and 1 item of vitamin extracted from rice bran. 

The Pharmaceutical Manufacturing Plant operated like a business. Dr. Tua Lophanukrom was the first chairman of the board of directors. He passed away on 27th August 1941 at a time when the plant had only been operational for a period of less than two years. This was a terrible loss for the Pharmaceutical Manufacturing Plant. Nevertheless, and despite the difficult conditions during The Greater East Asia War, the Pharmaceutical Manufacturing Plant was able to maintain its operations to alleviate the shortage of medicines for the public, in accordance with Dr. Tua Lophanukrom’s original intentions. 

The origins of GPO

In 1959, Phra Bamratnaradun, the Minister of Public Health and the chairman of the board of directors of the Pharmaceutical Manufacturing Plant, having evaluated the operations of the plant, appointed a committee to consider how to make improvements to its business administration and academic prowess. The committee took more than 4 years to reach a conclusion, which was that the Pharmaceutical Manufacturing Plant should be merged with the Pharmaceutical Department, in order to increase efficiency and thereby be able to provide the maximum level of value to the government; as well as that the newly merged department (GPO) should become a state enterprise, in order to be flexible in its operations and to be of benefit to society in the future. 

Phra Bamratnaradun was the first chairman of the board of directors of GPO, serving from 1966 until 1969 when he vacated the position of Minister of Public Health; however, despite his departure, GPO continued to progress, creating a condition of stability for medicines within the country and being of benefit to government agencies and the public in accordance with the intentions of its founder, Phra Bamratnaradun.

GPO pharmaceutical products and medical devices covering a range of treatments

GPO manufactures pharmaceutical products totaling more than 200 items including tablets, capsules, solutions, syrups, powders and injections. Via collaboration with the government and private sectors, this total rises to more than 300 items, which can be categorized into the following 7 types:

  1. Medicines: Antiretroviral drugs; drugs for specific diseases, emerging diseases and general diseases and over the counter drugs.

      2. Biological products: vaccines, serums and antitoxins.

      3. Herbal products: medicines developed from herbs, food supplements, cosmetics and extracts.

      4. Chemical products: active pharmaceutical ingredients, test kits for testing food safety, drug abuse test kits and pesticide residue test kits.

      5. Medical devices: plasters, rubber gloves, elastic bandages and disinfectants.

      6. Equipment and medical tools: stents, knee prosthesis, blood pressure monitors and blood glucose monitors, etc.

      7. Medicine sets: products convenient to purchase and carry, products suitable to have at home, at work and for group travel.

 

Research and Development

GPO established its own Research and Development Institute (RDI) in 1992 in order to extensively promote the research and development of pharmaceutical products and medical supplies and to be self-sufficient in the production of medicines such as drugs for newly emerging diseases or specific diseases, expensive drugs and drugs of high use. The RDI conducts research and development on pharmaceutical products including medicines which are required to respond to contemporary problems within Thai public health, drugs in new dosage forms, natural products, active pharmaceutical ingredients, test kits, biological products and biotechnology products. The RDI has also created a research network for the development of medicines and health products on an industrial scale. At present the organisational structure of the RDI is divided into 10 departments and 12 research groups.

GPO established a Research Fund in order to provide adequate, appropriate, flexible and effective funding for research and development; the funding is allocated on an annual basis and may not exceed 5 percent of net profits. This is consistent with existing trends for investment in research within the international pharmaceutical industry. The Research Fund is supervised by the Executive Research Fund Committee in order to manage the budget effectively and to be able to use the research results for the benefit of the country. The Research Fund promotes and supports research and development by both internal and external personnel.

In addition, the RDI is integrated with several external agencies and medical personnel in order to be able to effectively perform the research and development of medicines and health products. 

Quality assurance of pharmaceutical products

A quality assurance system has an important role in controlling, monitoring and supervising production to meet the appropriate requirements at all stages of the production process. The production process includes the receiving of raw materials and packaging materials and their correct dispensing; manufacturing, packaging of the finished pharmaceutical products, as well as transporting and distributing the products to consumers. 

GPO is committed to producing products in accordance with Good Manufacturing Practice (GMP) and the Pharmaceutical Inspection Cooperation Scheme (PIC/S), which refer to the rules and regulations of international conventions in the field of European Medicines Evaluation. These regulations use consumer protection principles in the quality, safety and efficacy of the products as well as having a basis in the scientific and rational standards of quality risk management.

The quality assurance system is vital at every stage in the production of GPO products. A built-in quality process commences with the selection of raw materials and proceeds through the research and development of the formulation, before culminating in drug registration. The system includes the quality control of raw materials and packaging materials, production process controls and environmental controls to reduce the risk of environmental contamination of the product, as well as the development of the potential of personnel in order to meet international standards.

In accordance with GMP PIC/S, 100% identification of raw materials, including every container, is performed prior to the production process commencing. The technique of infrared spectroscopy (Near-infrared, Raman-infrared) is applied for identification purposes without exposing the raw material. This prevents the contamination of raw materials and ensures the quality control of all items of raw material.

Equipment Qualification is performed on all equipment and machines prior to use and machine effectiveness is regularly monitored. Process validation is conducted on all items of pharmaceutical product and cleaning validation is performed in order that the production process conforms to international standards. This is in order to enhance customer confidence in the quality, safety and efficacy of the pharmaceutical products.

Distribution of products to public

GPO distributes products to the public health system through multiple channels, including hospitals and public healthcare clinics throughout the country, drugstores and the village drug funds which are scattered throughout all provinces. GPO has constructed depots in 3 regions for the distribution of medicines in cases of emergency, which removes the need to wait for drugs to be distributed from the center of the country. To manage drug distribution more effectively, some items of essential medicines and medical devices are delivered directly to patient’s homes. This is another means by which GPO aims to enhance patients’ quality of life. For example, peritoneal dialysis fluid is delivered to the homes of renal failure patients directly through the Thailand Post Company Limited and in cases of emergency, antidotes can be delivered directly to clinics within 24 hours, thereby saving the lives of patients who have been poisoned by food, chemicals or natural residues. The delivery service is applicable for both the central region and all the other regions across the country and can be accessed by contacting local healthcare clinics and GPO representatives who are based in the relevant area.

GPO has implemented a system of Vendor Managed Inventory (VMI) to increase the effectiveness of the service by helping to manage stocked drugs in healthcare clinics. As a result, the clinics in each region are able to stock an adequate amount of the drugs required for treatment in their locality.